วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 16

WEEK 15
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
 เวลาเรียน : 08.30-12.00 น.
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2558
กิจกรรมจัดนิทรรศการศิลปะ
บรรยายกาศนิทรรศการศิลปะ
ตัวอย่างมุมผลงานในนิทรรศการศิลปะ
กิจกรรมนำเสนอผลงานสอนศิลป์
รูปแบบของการจัดนิทรรศการศิลปะ
นิทรรศการศิลปะที่นิยมจัดกันโดยทั่วไป แบ่งรูปแบบการจัดได้เป็น 3 แบบ คือ
       1. นิทรรศการถาวร เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงไว้เพื่อให้ประโยชน์ต่อผู้เข้าชมได้ในเวลายาวนาน ติดตั้งจัดแสดงไว้อย่างมั่นคง ได้แก่ การจัดนิทรรศการของหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งได้รวบรวมผลงานทางศิลปะ แสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ไว้เพื่อให้สาธารณชน ศึกษาได้ตลอดไป
       2. นิทรรศการชั่วคราว เป็นนิทรรศการที่จัดแสดงเรื่องราวเฉพาะกิจ ในโอกาสพิเศษบางโอกาส จะใช้เวลาสั้นๆ ไม่กี่วัน หรือ 2 – 3 สัปดาห์ การเผยแพร่ความรู้ ข่าวสาร หรือ ประชาสัมพันธ์เรื่องต่างๆ การจัดนิทรรศการวันสำคัญต่างๆ หน่วยงานทางราชการ บริษัท และสถานศึกษา นิยมจัดนิทรรศการประเภทนี้เพราะเป็นการประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารความรู้ได้เป็นอย่างดี
       3. นิทรรศการเคลื่อนที่ เป็นนิทรรศการที่มีวัตถุประสงค์ในการจัดคล้ายกับนิทรรศการชั่วคราว หรือบางคราวก็นำนิทรรศการชั่วคราวไปแสดงเคลื่อนที่ยังสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้สนใจโดยทั่วไป
       การจัดนิทรรศการศิลปะมีหลักในการจัด ดังนี้
1. การติดภาพหรือตัวอย่างผลงาน
       1.1 ภาพหรือตัวอย่างผลงานที่สำคัญ ควรจัดแยกจากภาพอื่นๆ โดยเน้นให้เด่นชัดและควรมีขนาดใหญ่โตกว่าภาพอื่นๆ เพื่อดึงดูดความสนใจ
       1.2 ใช้สีตกแต่งให้น่าสนใจ โดยเฉพาะภาพที่ไม่มีสี ควรใช้สีมาช่วยเน้นให้สดใส เด่นชัดมากขึ้นด้วยการเน้นพื้นหรือกรอบภาพ
       1.3 ภาพหรือตัวอย่างผลงาน ไม่ควรมีมากเกินไป ควรคัดเลือกเฉพาะภาพที่จำเป็นและมีความสำคัญมาจัดแสดง
2. การเขียนตัวอักษรการจัดนิทรรศการบางครั้งต้องใช้ตัวหนังสือเพื่ออธิบายให้ผู้ชมได้เข้าใจ โดยมีหลักในการเขียนดังนี้
       2.1 ควรเขียนให้อ่านได้สะดวกในระยะห่าง 12 – 15 ฟุต
       2.2 ความยาวของข้อความอ่านได้ตามสบายในเวลา ประมาณ 15 – 30 วินาที
       2.3 ความสูงของตังอักษรประมาณ 1 – 3 นิ้ว ส่วนหัวเรื่องควรใหญ่กว่าตัวอื่นๆ
       2.4 ควรใช้ภาษาแบบง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ทันที
       2.5 แบบของตัวอักษรควรเป็นแบบราชการ หรือ แบบที่อ่านง่าย และควรใช้เป็นแบบเดียวกันจะดูดีกว่าหลายๆ แบบ
       2.6 สีของตัวอักษรกับพื้นหลังให้ติดกัน เพื่อสะดวกในการอ่าน
3. การตั้งวางสิ่งของเพื่อจัดแสดง
       ผลงานบางชนิดนำมาตั้งหรือวางเพื่อแสดง ได้แก่ งานประติมากรรมหรือสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ อาจเป็นการตั้งกลางแจ้งหรือในร่มตามความเหมาะสม ถ้าเป็นงานขนาดใหญ่ต้องตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างมากๆ งานขนาดเล็กอาจตั้งวางบนโต๊ะก็พอ
       ผลงานบางอย่างต้องใช้แขวนหรือห้อยเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ สร้างบรรยากาศของงานให้เป็นไปในอีกลักษณะหนึ่งควรแขวนให้อยู่ในระดับสายตาหรือสูงกว่าเล็กน้อย
การประยุกต์ใช้ : จากที่ได้ลองนิทรรศการศิลปะเป็นครั้งแรกทำให้รู้ข้อดีและข้อบกพร่องที่ควรแก่ไขในการจัดครั้งหน้า เพื่อเป็นแบบอย่างและได้รู้หลักการต่างๆไปปรับใช้เกี่ยวกับการเก็บผลงานหรืองานแสดงชิ้นงานของเด็กได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและให้มีความน่าสนใจ
การประเมินผล :
ตนเอง : แต่งกายถูกระเบียบ เตรียมความพร้อมมาก่อนจัดนิทรรศการเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการทำ และได้ช่วยเพื่อๆจับจีบผ้าให้ดูน่าสนใจและจัดมุมต่างๆทั้งมุมงานปั้น และมุมแฟ้มสะสมผลงาน เป็นต้น วันนี้รู้สึกมีความสุขและภาคภูมิใจในชิ้นงานบางชิ้น
เพื่อน : เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี เฮฮาตลอดเวลา จึงส่งผลให้การจัดนิทรรศการในวันนี้มีความสุข Happy very much.
อาจารย์ : อาจารย์ให้นักศึกษาทดลองจัดนิทรรศการศิลปะด้วยตนเอง โดยหลังจากที่นักศึกษาจัดเสร็จอาจารย์ก็ค่อยให้คำแนะนำชี้แนะหลักการจัด รูปแบบการจัดเพื่อให้ผลงานเป็นที่น่าสนใจ เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ได้จริงเวลาที่ไปออกฝึกสอนและการจัดเก็บชิ้นงานของเด็ก

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 15

WEEK 15
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
 เวลาเรียน : 08.30-10.10 น.,12.20-15.00 น.
วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ.2558
กิจกรรมในวันนี้เป็นการทดลองการสอบสอนของแต่ละกลุ่มดังนี้
หน่วยข้าว : กิจกรรมพิเศษปะ-ติดเมล็ดข้าว
หน่วยกล้วย กล้วย : กิจกรรมพิเศษพิมพ์ภาพจากก้านกล้วย

ตัวอย่างการดำเนินกิจกรรม
หน่วยสัตว์ : กิจกรรมพิเศษสัตว์น้อยจากไม้ไอศครีม
หน่วยยานพาหนะ : กิจกรรมพิเศษเพนท์ก้อนหินรูปยานพาหนะ
ตัวอย่าง กิจกรรมการเพนท์ก้อนหินจากรายการสอนศิลป์
บรรยายกาศในการทำกิจกรรม
         การจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดสาระการเรียนรู้ไว้ ซึ่งประกอบเป็น 2 ส่วน คือ ประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ทั้งสองส่วนใช้เป็นสื่อกลางในการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยครอบคลุมพัฒนาการเด็ก 4 ด้านดังนี้
  1. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย เป็นการสนับสนุนให้เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก จากการเขียนภาพและการเล่นสี เช่น กิจกรรมเขียนภาพด้วยสีเทียน สีน้ำ เป่าสี ทับสี ปั้นดินเหนียว ดินน้ำมัน งานประดิษฐ์จากเศษวัสดุ เป็นต้น
  2. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ เป็นประสบการณ์ทางสุนทรียภาพ เด็กมีโอกาสชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม เช่น กิจกรรมเขียนภาพตามความคิดสร้างสรรค์ แสดงความคิดเห็นต่อผลงานศิลปะ ฯลฯ
  3. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม เป็นประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้ทางสังคม ด้วยการเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่น มีการวางแผน ตัดสินใจเลือกและลงมือปฏิบัติ ให้เด็กมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจ ความต้องการของตนเองและผู้อื่น เช่น การเลือกทำกิจกรรมศิลปะตามความสนใจ การฟังความคิดเห็นของเด็กคนอื่น การรู้จักรอคอยที่จะใช้อุปกรณ์ร่วมกับผู้อื่น การรู้จักแบ่งปันวัสดุ ของใช้ เป็นต้น
  4. ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นประสบการณ์ที่ส่งเสริมความคิดของเด็ก เกี่ยวกับการรับรู้ และการแสดงความรู้ผ่านสื่อ วัสดุ และผลงาน เช่น การวาดภาพ ระบายสี ปั้นดิน ประดิษฐ์ ส่งเสริมด้านการใช้ภาษาและด้านการเขียนในหลายรูปแบบผ่านประสบการณ์ที่สื่อความหมายต่อเด็ก และการสื่อความหมายของมิติสัมพันธ์ด้วยภาพวาด เช่น การให้เด็กเขียนภาพนิทาน วาดภาพด้วยสีเทียน สีน้ำ เป็นต้น
         กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ครูจัดให้เด็กที่โรงเรียนเป็นการจัดกิจกรรมที่มุ่งส่งเสริมให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระผ่านการสร้างสรรค์งานจากกิจกรรมที่หลากหลายแบบที่ครูจัดให้วันละ 3-5 กิจกรรม และเด็กมีโอกาสเลือกทำอย่างน้อยวันละ 1-2 กิจกรรม ตามความสนใจ คือ
  • กิจกรรมงานปั้น ได้แก่ ปั้นดินเหนียวหรือแป้งโด ดินน้ำมัน เป็นต้น
  • กิจกรรมวาดภาพระบายสี ทั้งสีน้ำ สีเทียน สีดินสอ ได้แก่ หยดสี เทสี ระบายสี เป่าสี ละเลงสีด้วยนิ้วมือ หรือส่วนต่างๆ ของมือหรือ พิมพ์ภาพ เป็นต้น
  • กิจกรรมงานกระดาษ ได้แก่ ฉีก พับ ตัด ปะ กระดาษ เป็นต้น
  • กิจกรรมประดิษฐ์จากวัสดุต่างๆ และของเหลือใช้ ได้แก่ ประดิษฐ์กระทงใบตอง ประดิษฐ์หน้ากากจากจานกระดาษ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ : หลังจากได้ฝึกทักษะการจัดการเรียนการสอนศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กทำให้ได้รู้วิธี เทคนิคต่างๆที่น่าสนใจมากมายทำให้สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนกับเด็กได้จริงในอนาคต และที่สำคัญทำให้รู้ว่าการสอนศิลปะนั้นไม่ใช้เรื่องยากเราทุกคนสามารถทำได้ แต่ต้องมีเทคนิคและวิธีการที่น่าสนใจให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด
การประเมินผล :
ตนเอง : มีการเตรียมตัวก่อนการเรียนการสอนเนื่องจากเพื่อภายในกลุ่มเลือกแผนการสอนที่ดิฉันเป็นคนเขียน จึงต้องมาอธิบายให้เพื่อนๆในกลุ่มเข้าใจในกระบวนการวิธีการสอนก่อนนำไปทดลองสอนในวันนี้ และในการทำกิจกรรมก็ได้ร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนถือได้ว่าวันนี้ได้รับประสบการณืที่หลากหลายทั้งจากอาจารย์และเพื่อนทุกๆคน
เพื่อน : ทุกคนมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมทดลองสอนวันนี้เป็นอย่างดี บางกลุ่มสอนได้ดี บางกลุ่มมีการประยุกต์สิ่งแปลกใหม่ในการสอน บางกลุ่มมีกระบวนการที่ชัดเจนน่าสนใจ
อาจารย์ : ให้ความสนใจและค่อยให้คำแนะนำกับนักศึกษาทุกกลุ่มเป็นอย่างดี

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 14

WEEK 14
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
 เวลาเรียน : 08.30-10.10 น.,12.20-15.00 น.
วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ.2558
หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากตรงกับเทศกาลวันสงกรานต์ 13-15 เมษายน พ.ศ.2558

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 13

WEEK 13
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ.2558
 เวลาเรียน :08.30 -10.00 น.
อาจารย์ชี้แจงวัน-เวลาหยุดและวันเรียนชดเชย พร้อมทั้งตารางการสอบปลายภาคในรายวิชา

ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์
ส่งแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2558 
เวลาเรียน :13.00-15.00 น.
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่าง 3
         การประเมินผลงานทางศิลปะ จึงควรเป็นเรื่องของการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการต่อไป มากกว่าจะทำให้เด็กท้อแท้ เบื่อหน่าย การวิจารณ์ผลงานที่ดีในที่ประชุม ย่อมทำให้เจ้าของผลงานที่ไม่ดีมองเห็นตัวเองได้ดีกว่าการตำหนิผลงานที่ไม่สมใจครู ครูจะต้องเข้าใจเด็ก เข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก เข้าใจถึงความสามารถ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ครูสอนศิลปะจึงควรมองผลงานของเด็กของตนเป็นศิลปินแค่ไหน หรือเป็นช่างศิลปะเพียงไร โดยเฉพาะครูศิลปะในชั้นประถมน่าจะมองศิลปะในฐานะที่เป็นวิชาสามัญวิชาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายอารมณ์ มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าที่จะฝังใจว่าการเรียนศิลปะได้จะต้องมีหัว มีพรสวรรค์ หรือมีปัญญาเลิศเท่านั้น
          เมื่อเป็นเช่นนี้การวัดผลการเรียนวิชาศิลปศึกษาจึงควรน่าจะมุ่งวัดระดับความเจริญงอกงามที่เกิดขึ้นจากการเรียนและการประกอบกิจกรรมทางศิลปะซึ่งจะเป็นผลดีต่อนักเรียนและครู กล่าวคือ นักเรียนก็จะได้ทราบว่าตนเองมีความสามารถและมีความถนัดด้านใดบ้าง ควรแก้ไขปรับปรุงในด้านใดบ้าง ครูเองก็สามารถหาทางแก้ไขปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้
         การประเมินผลการเรียนวิชาศิลปศึกษาที่สำคัญ ก็คือ การวัดพัฒนาการของนักเรียนในด้านการสร้างสรรค์สุนทรียภาพ การรับรู้ อารมณ์ สติปัญญา สังคม และการวัดพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนการสอนวิชาศิลปะ
         ครูคือ ผู้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ด้วยการเอาใจใส่จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งสภาพห้องเรียน การจัดหาสื่อ อุปกรณ์ให้พร้อม มีแผนการจัดกิจกรรมไว้ล่วงหน้า และดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน ส่งเสริมให้เด็กได้เลือกปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย อย่างน้อยวันละ 2 กิจกรรม ครูควรให้โอกาสเด็กอธิบายผลงานของตนเองและ ชื่นชมผลงานของตนเอง ครูควรมีคำถามให้เด็กได้คิด และเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
โปรแกรมการเรียนรู้แบบไฮสโคป
บรรยายกาศในการเรียนการสอน
การนำไปใช้: 
  1. สามารถนำตัวอบ่างแบบประเมินไปใช้ได้จริงในอนาคต เพื่อเป็นตัวตรวจสอบพัฒนาการของเด็กว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด
  2. สามารถนำวิธีการเขียนแผนที่ท่านอาจารย์แนะนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนให้ดียิ่งขึ้น และถูกต้อง(การเขียนแผนการสอนไม่ใช้เรื่องง่ายและก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับคนเป็นครู)
การประเมินผล : 
  1. ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นผู้ฟังที่ดีเวลามีคนพูดและร่วมแสดงความคิดเห็นเมื่อมีข้อสงสัย และข้อคำถามจากอาจารย์
  2. เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนค่อนข้างน้อย อาจเนื่องมาจากกลับต่างจังหวัดในช่วงวันหยุดสงการนต์ แต่ทุกคนที่มีก็ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในวันนี้เป็นอย่างดีจึงส่งผลให้การเรียนในวันนี้สนุกสนานและไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด
  3. อาจารย์ : อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแผนการสอนของแต่ละคน แต่เนื่องจากทุกคนเขียนมาแนวเดียวกันกับแบบอย่างที่อาจารย์ให้ไปจึงไม่จำเป็นต้องนำเสนอแล้ว จากกนั้นอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ จึงทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และในท้ายคาบอาจารย์ก็มีเทคนิคและตัวอย่างการเรียนการสอนแบบไฮสโคปมาให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อที่นักศึกษาจะสามรถนำไปปรับใช้ได้จริง

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

งานปั้นใส่แผ่น CD

HOMEWORK
กิจกรรมงานปั้น(ปั้นดินน้ำมันลงแผ่น CD)
อุปกรณ์ในการทำมีดังนี้

ขั้นตอนและวิธีการทำ :เลือกภาพที่ต้องการจะปั้นลงใส่แผ่น CD จากนั้นปั้นดินน้ำมันตามแบบที่เราเลือกไว้ ตกแต่งให้สวยงาม และใช้สีทาเล็บสีใสทาเคลือบลงไปบนดินน้ำมัน
ชื่อผลงาน : ความรักคือสิ่งสวยงามเสมอ
ชื่อผลงาน : สัตว์โลกผู้น่ารัก

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

สอนศิลป์ตอนที่ 91 ตุ๊กตาชักกระตุก

ผลงานการประดิษฐ์สื่อจากรายการสอนศิลป์
ศิลปะจากการประดิษฐ์
ชื่อผลงาน ตุ๊กตาชักกระตุก
อุปกรณ์ :
  1. กระดาษชานอ้อย
  2. ดินสอ/ยางลบ
  3. สีไม้
  4. กรรไกรกาว
  5. หมุดสีทอง
  6. ด้าย/เชือกร้อยในการดึงชักกระตุก
เตรียมอุปกรณ์ก่อนวาดเค้าโครงตามจินตนาการ
ลงมือวาดส่วนต่างๆของร่างกาย
ลงสีไม้ตกแต่งให้สวยงาม
ตัดชิ้นส่วนต่างๆออกเพื่อจะนำมาประกอบกัน
       สิ่งที่ได้จากกิจกรรมนี้ คือ การฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือและตา ความสนุกสนานในการทำกิจกรรมการสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยตนเอง จินตนาการความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญคือได้ของเล่นที่น่าสนใจอีก 1 ชิ้น

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

Week 12

WEEK 12
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
 เวลาเรียน :12.20-15.00 น.
วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2558
เนื้อหา : เรื่องการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
จุดประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์
  1. วางแผนล่วงหน้าในการจัดกิจกรรมร่วมกับเด็กได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย
  2. นำแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ในการจัดกิจกรรมประจำวันให้บรรลุตามจุดมุ่งหมาย
การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์
  1. ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
  2. วิเคราะห์หลักสูตรสถานศึกษาและความสัมพันธ์ของ มาตราฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ตัวบ่งชี้
  3. วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ ประสบการณ์สำคัญ
  4. กำหนดรูปแบบการจัดประสบการณ์
  5. เขียนแผนการจัดประสบการณ์
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
ขั้นที่ 1 เลือกเรื่อง : สังเกตจากความสนใจของเด็กและเรื่องต้องไม่กว้างจนเกินไป
ขั้นที่ 2 ระดมความคิด : เป็น Mind-mapping
ขั้นที่ 3 คิดกิจกรรม : ตามความริเริ่มของครูและเด็ก และควรแยกตาม 6 กิจกรรมหลัก
ขั้นที่ 4 จัดกิจกรรมตามพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
ขั้นที่ 5 จัดทำแผนการจัดประบสบการณ์ ทำการบันทึกการสอน
แนวทางการประเมินผล
  1. ประเมินตามสภาพจริง
  2. ประเมินที่หลากหลาย
  3. กำหนดจุดประสงค์อย่างไรก็ต้องประเมินให้ตรงตามจุดประสงค์ และที่สำคัญต้องกำหนดแนวทางการให้คะแนนอย่างชัดเจน
รูปแบบการเขียนแผนในแต่ละวันทั้ง 6 กิจกรรมหลัก
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์
การนำไปใช้: 
  1. หลังจากที่ได้เรียนรู้เนื้อหาและหลักการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์แล้ว ถือว่าได้ใช้ประโยชน์และเป็นแนวทางในการเขียนแผนสอบสอนและการเขียนแผนใช้จริงๆในอนาคตของการเป็นครูได้ และยังทำให้ทราบถึงหลักการและเทคนิคง่ายๆในการเขียนแผนให้ถูกต้องด้วยค่ะ
การประเมินผล : 
  1. ตนเอง : เป็นผู้ฟังที่ดี และสนทนาซักถามร่วมแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนในชั้นเรียน วันนี้มีความสุขสนุกสนานในการเรียนเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีเพื่อนอีกกลุ่มมาเรียนร่วมกัน ถือว่าเฮฮามากการเรียนในครั้งนี้ถือว่าดีมากเลยค่ะ
  2. เพื่อน : เริ่มแรกที่เข้ามาในชั้นเรียนรู้สึกวันนี้เฮฮา เสียงดัง น่าตื่นเต้นเป็นอย่างมากทั้งสองกลุ่มคุยกันอย่างสนุกสนาน เวลาเรียนก็ตั้งใจเรียนกันเป็นอย่างดีอาจจะมีเฉพาะบางกลุ่มที่คุยไม่หยุดแต่พอเวลาอาจารย์เตือนทุกคนก็กลายเป็นผู้ฟังที่ดีมาทันใด
  3. อาจารย์ : วันนี้ท่านอาจารย์มีเทคนิคการสอนโดยใช้ Powerpoint เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน และมีการสอนที่รวดเร็วทันใจ เข้าใจชัดเจนได้เนื้อหาที่ครบถ้วนและสามารถนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนได้เป็นอย่างดี