วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

Week 13

WEEK 13
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ.2558
 เวลาเรียน :08.30 -10.00 น.
อาจารย์ชี้แจงวัน-เวลาหยุดและวันเรียนชดเชย พร้อมทั้งตารางการสอบปลายภาคในรายวิชา

ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์
ส่งแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย
วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ.2558 
เวลาเรียน :13.00-15.00 น.
ตัวอย่างที่ 1
ตัวอย่างที่ 2
ตัวอย่าง 3
         การประเมินผลงานทางศิลปะ จึงควรเป็นเรื่องของการช่วยให้เด็กมีพัฒนาการต่อไป มากกว่าจะทำให้เด็กท้อแท้ เบื่อหน่าย การวิจารณ์ผลงานที่ดีในที่ประชุม ย่อมทำให้เจ้าของผลงานที่ไม่ดีมองเห็นตัวเองได้ดีกว่าการตำหนิผลงานที่ไม่สมใจครู ครูจะต้องเข้าใจเด็ก เข้าใจจิตวิทยาพัฒนาการของเด็ก เข้าใจถึงความสามารถ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ครูสอนศิลปะจึงควรมองผลงานของเด็กของตนเป็นศิลปินแค่ไหน หรือเป็นช่างศิลปะเพียงไร โดยเฉพาะครูศิลปะในชั้นประถมน่าจะมองศิลปะในฐานะที่เป็นวิชาสามัญวิชาหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้ผ่อนคลายอารมณ์ มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าที่จะฝังใจว่าการเรียนศิลปะได้จะต้องมีหัว มีพรสวรรค์ หรือมีปัญญาเลิศเท่านั้น
          เมื่อเป็นเช่นนี้การวัดผลการเรียนวิชาศิลปศึกษาจึงควรน่าจะมุ่งวัดระดับความเจริญงอกงามที่เกิดขึ้นจากการเรียนและการประกอบกิจกรรมทางศิลปะซึ่งจะเป็นผลดีต่อนักเรียนและครู กล่าวคือ นักเรียนก็จะได้ทราบว่าตนเองมีความสามารถและมีความถนัดด้านใดบ้าง ควรแก้ไขปรับปรุงในด้านใดบ้าง ครูเองก็สามารถหาทางแก้ไขปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้น ตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้
         การประเมินผลการเรียนวิชาศิลปศึกษาที่สำคัญ ก็คือ การวัดพัฒนาการของนักเรียนในด้านการสร้างสรรค์สุนทรียภาพ การรับรู้ อารมณ์ สติปัญญา สังคม และการวัดพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนการสอนวิชาศิลปะ
         ครูคือ ผู้มีบทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ด้วยการเอาใจใส่จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งสภาพห้องเรียน การจัดหาสื่อ อุปกรณ์ให้พร้อม มีแผนการจัดกิจกรรมไว้ล่วงหน้า และดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผน ส่งเสริมให้เด็กได้เลือกปฏิบัติกิจกรรมสร้างสรรค์อย่างหลากหลาย อย่างน้อยวันละ 2 กิจกรรม ครูควรให้โอกาสเด็กอธิบายผลงานของตนเองและ ชื่นชมผลงานของตนเอง ครูควรมีคำถามให้เด็กได้คิด และเชื่อมโยงไปสู่การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
โปรแกรมการเรียนรู้แบบไฮสโคป
บรรยายกาศในการเรียนการสอน
การนำไปใช้: 
  1. สามารถนำตัวอบ่างแบบประเมินไปใช้ได้จริงในอนาคต เพื่อเป็นตัวตรวจสอบพัฒนาการของเด็กว่ามีความก้าวหน้ามากน้อยเพียงใด
  2. สามารถนำวิธีการเขียนแผนที่ท่านอาจารย์แนะนำไปปรับใช้ในการเขียนแผนให้ดียิ่งขึ้น และถูกต้อง(การเขียนแผนการสอนไม่ใช้เรื่องง่ายและก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับคนเป็นครู)
การประเมินผล : 
  1. ตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพ เป็นผู้ฟังที่ดีเวลามีคนพูดและร่วมแสดงความคิดเห็นเมื่อมีข้อสงสัย และข้อคำถามจากอาจารย์
  2. เพื่อน : วันนี้เพื่อนๆเข้าเรียนค่อนข้างน้อย อาจเนื่องมาจากกลับต่างจังหวัดในช่วงวันหยุดสงการนต์ แต่ทุกคนที่มีก็ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนในวันนี้เป็นอย่างดีจึงส่งผลให้การเรียนในวันนี้สนุกสนานและไม่น่าเบื่ออย่างที่คิด
  3. อาจารย์ : อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนอแผนการสอนของแต่ละคน แต่เนื่องจากทุกคนเขียนมาแนวเดียวกันกับแบบอย่างที่อาจารย์ให้ไปจึงไม่จำเป็นต้องนำเสนอแล้ว จากกนั้นอาจารย์ก็ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ จึงทำให้นักศึกษาเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น และในท้ายคาบอาจารย์ก็มีเทคนิคและตัวอย่างการเรียนการสอนแบบไฮสโคปมาให้ดูเป็นตัวอย่างเพื่อที่นักศึกษาจะสามรถนำไปปรับใช้ได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น