วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558

Week 3

 WEEK 3
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
 เวลาเรียน : 08.30-10.10 น.,12.20-15.00 น.
วันพุธที่ 28 มกราคม พ.ศ.2558
บรรยายกาศในการเรียนวันนี้
เนื้อหาที่เรียนวันนี้ 
•ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะ ช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
-ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ (สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว)
-ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ (เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ)
-ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส
•การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
  1. ฝึกทักษะการใช้มือและเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
  2. ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน  
  3. พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
  4. ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย 
  5. ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำงานศิลปะตลอดจนรู้จักเก็บรักษา และทำความสะอาดอย่างถูกต้อง 
  6. ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม  
  7. เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนาน และใช้ เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  8. นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
•ครู คือ บุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
  1. เป็นผู้สร้างบรรยากาศ ( ในการประดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน) 
  2. เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ) 
  3.  เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน ( ให้ความรัก ความอบอุ่น เป็นกันเอง และคอยให้คำแนะนำ)
  4. เป็นต้นแบบที่ดี (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง ไม่เผด็จการ ส่งเสริมการกล้าคิด กล้าตัดสินใจ) 
  5. เป็นผู้อำนวยความสะดวก (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ รูปแบบศิลปะหลากหลาย)
•ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
  1. หลีกเลี่ยงการให้แบบ 
  2. ช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก 
  3. ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้น
  4. ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน  
  5. ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก 
  6. การช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของงานเด็ก 
  7. ขยายประสบการณ์ทางศิลปะชองเด็ก
ตัวอย่างผลงานทางศิลปะ
Homework
การนำไปใช้: 
  1. จากเนื้อหาที่เรียนในวันนี้เกี่ยวกับหลักการจัดประสบการณ์ทางศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยทำให้รู้หลักการต่างๆร่วมทั้งบทบาทหน้าที่ครูและเทคนิควิธีต่างๆสามารถนำไปปรับในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดีในวันข้างหน้า เช่นตัวอย่างการจัดกิจกรรมแบบง่าย เช่น กิจกรรมการต่อเติมภาพ เป็นต้น
การประเมินผล : 
  1. ตนเอง : มีความพร้อมที่จะเรียน 95% เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเวลาท่านอาจารย์สอน เพื่อจะเกิดการเรียนรู้ได้ดี
  2. เพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน เป็นผู้ฟังที่ดี ตอบโต้และร่วมอภิปรายกับอาจารย์เป็นบางครั้ง
  3. อาจารย์ : ท่านอาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา 
  • มีสื่อการสอน คือ PowerPoint และมีการบรรยายในการสอน พร้อมให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายตอบโต้อย่างสนุกสนาน
  • มีการสั่งงาน 3 ชิ้น คือ วาดภาพต่อเติมจากครึ่งวงกลม วาดเส้นหรือลวดลายต่างๆในช่องสี่เหลี่ยม และวาดโครงร่างจากนั้นนำลวดลายจากชิ้นงานที่สองมาต่อเติมให้น่าสนใจ


วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

Week 2

 WEEK 2
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
 เวลาเรียน : 08.30-10.10 น.,12.20-15.00 น.
วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558
ท่านอาจารย์ แนะนำกิจกรรมวาดภาพระบายสี "มือน้อยสร้างสรรค์"
ชื่อผลงาน "สองมือนี้เพื่อแม่"
 
ศิลปะแบบเดี่ยว การสร้างสรรค์ผลงานของแต่คนหลังจากนั้นนำผลงานมาแสดง
ศิลปะแบบกลุ่ม(ศิลปะแบบร่วมมือ) หลังจากตัดขอบกระดาษสีขาวออแล้วนำผลงานมาติดรวมกันเป็น1 ภาพ ก็จะกลายเป็นศิลปะที่น่าสนใจและสร้างสรรค์อีกชิ้น
บรรยายกาศในการทำกิจกรรม

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ.2558
เนื้อหาที่เรียนเรื่อง การจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
"ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ"
ความสำคัญของการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย :
•เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย : ร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม สติปัญญา
•ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น : กระบวนการทางศิลปะจะทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ตนเอง และสิ่งแวดล้อมมากขึ้นตามวัย
•ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
•ช่วยเสริมสร้าง / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
ปรัชญาศิลปศึกษา :
•มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
•เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
•ให้ความสำคัญกับ กระบวนการสร้างสรรค์งาน
•เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่มองเห็น
•ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน
•สนับสนุนให้เรียนรู้ ด้วยการค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ๆ
•นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ :
•ทฤษฎีพัฒนาการ : พัฒนาการทางศิลปะของ โลเวนเฟลด์ (Lowenfeld )
•ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ :
- ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford)
  1. เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างทางสติปัญญา
  2. ทำให้ทราบความสามารถของสมองที่แตกต่างกันถึง 120 ความสามารถตามแบบจำลองโครงสร้างทางสติปัญญาในลักษณะ 3 มิติ คือ มีเนื้อหา 4 มิติ วิธีการคิด 5 มิติ และผลทางการคิด 6 มิติ 
  3. รวมความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ด้วย คือ วิธีการคิดอเนกนัย เป็นการคิดหลายทิศทาง หลายแง่หลายมุม คิดได้กว้างไกล ซึ่งลักษณะความคิดนี้จะนำไปสู่การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งแปลกใหม่
- ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
         ทอร์แรนซ์ กล่าวว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของความรู้สึกไวต่อปัญหา หรือสิ่งที่ขาดหายไป แล้วเกิดความพยายามในการสร้างแนวคิด ตั้งสมมุติฐาน ทดสอบสมมุติฐาน และเผยแพร่ผลที่ได้ให้ผู้อื่นรับรู้และเข้าใจ ทำให้เกิดแนวทางในในการค้นคว้าสิ่งแปลกๆใหม่ๆต่อไป
        ขั้นความคิดสร้างสรรค์นี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับขั้นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ทอร์แรนซ์จึงเรียกขั้นการคิดสร้างสรรค์นี้ว่า กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์- ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมอง สองซีก)
- ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
  1. ปัญญา มีลักษณะเฉพาะด้าน
  2. ทุกคนมีปัญญาแต่ละด้าน ทั้ง 9 ด้านมากน้อยแตกต่างกัน
  3. ทุกคนสามารถพัฒนาปัญญาแต่ละด้านให้สูงขึ้นได้
  4. ปัญญาต่างๆสามารถทำงานร่วมกันได้
  5. ในปัญญาแต่ละด้าน ก็มีความสามรถหลายอย่าง
- ทฤษฎีโอตา (Auta) : ความคิดสร้างสรรค์นั้นมีอยู่ในมนุษย์ทุกคน และสามารถพัฒนาให้สูงขึ้นได้ การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ การตระหนัก ความเข้าใจ เทคนิควิธี และการตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ
ผลงานทางศิลปะ
การนำไปใช้: 
  1. จากกิจกรรมวาดภาพระบายสีหัวข้อ "มือน้อยสร้างสรรค์"หากได้เป็นครูในอนาคตสามารถนำหลักการที่ว่าศิลปะไม่มีขีดจำกัด และศิลปะมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับครูผู้สอนที่จะประยุกต์กิจกรรมระบายสีไปใช้รูปแบบใดบ้าง เช่น วาดภาพระบายสีโดยใช้อวัยวะต่างๆในร่างกายเป็นสื่อในการนำไปประยุกต์ใช้ในการพิมพ์ภาพ หรือจะนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ก็ได้เช่นกันตามความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น
  2. จากเนื้อหาเรื่องการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะมากยิ่งขึ้นทำให้รู้แนวทางและวิธีการในการจัดกิจกรรมให้เด็กได้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ได้ผลมากที่สุด
การประเมินผล : 
  1. ตนเอง : มีความพร้อมที่จะเรียน 100% เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมตอบโต้และแสดงความคิดเห็นภายในชั้นเรียน รู้สึกสนุกและมีความสุขกับการทำกิจกรรมในครั้งนี้มาก
  2. เพื่อน : เพื่อนทุกคนมีความสุขและสนุกในการทำกิจกรรม และให้ความร่วมมือในกิจกรรมกลุ่มเพื่อให้ได้ผลงานสร้างสรรค์ที่น่าภาคภูมิใจชิ้นหนึ่งเลยก็ว่าได้
  3. อาจารย์ : ท่านอาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา 
  • มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจเพื่อให้นักศึกษาสร้างสรรค์ชิ้นงานจนเกิดความคิดและจินตนาการ จากอวัยวะภาพในตัวเราเป็นตัวช่วยในการสร้างผลงาน
  • มีสื่อการสอน คือ PowerPoint และมีการบรรยายในการสอน พร้อมให้นักศึกษาร่วมกันอภิปรายตอบโต้อย่างสนุกสนาน

วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558

Week 1

WEEK 1
Creative Art Experiences Management for Early Childhood
 เวลาเรียน : 08.30-10.10 น.,12.20-15.00 น.
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ.2558
วันแรกของการเรียนท่านอาจารย์ปฐมนิเทศ แนะนำรายวิชา
และแนวการสอนของรายวิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย

วันพุธที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2558
กิจกรรมวาดภาพระบายสี(วาดภาพตนเองตามจินตนาการ)

วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558
กิจกรรม PE-STET
ขั้นตอน : ลงมือทำกิจกรรม

นำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่ม
การนำไปใช้: 
  1. หลังจากที่ได้รู้แนวการสอนของรายวิชานี้ ก็ได้รู้ข้อมูลเบื้องต้นว่าจะเรียนเกี่ยวกับอะไร มีรายละเอียดอะไรบ้างเพื่อจะได้มีการเตรียมความพร้อมของตนเองและนำไปวางแผนการเรียนในครั้งถัดไปได้
  2. หลักการประเมินผลงานเด็ก ต้องดูกระบวนการทำไม่ใช่ดูที่ผลงานอย่างเดียว และควรกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็กโดยการใช้คำถาม
  3. การจัดการเรียนการสอนศิลปะทุกคนมีความแตกต่างกันไปดังนั้ไม่ควรไปวิพากวิจารณ์ผลงานของคนอื่นในทางลบ แต่ควรชื่นชมในสิ่งที่ดีเพื่อจะได้มีแรงใจในการทำกิจกรรมต่อไป
  4. นำแนวคิดหลักการ ของแต่ละกลุ่มไปเป็นแนวทางในการนำไปใช้กับเด็กแต่อาจต้องปรับให้เหมาะสมกับช่วงวัย
การประเมินผล : 
  1. ตนเอง : มีความพร้อมที่จะเรียน 90 % -100% เข้าเรียนตรงเวลา ร่วมตอบโต้และแสดงความคิดเห็นภายในชั้นเรียน และเป็นผู้ฟังที่ดีเมื่อมีคนพูด เมื่อไม่เข้าใจอะไรก็จะสอบถามท่านอาจารย์
  2. เพื่อน : วันแรกของการเรียนเพื่อนยังมาเรียนไม่ครบแต่ก็มาเกินครึ่ง ซึ่งอาจเนื่องมาจากติดธุระ แต่ทุกคนที่เข้าเรียนก็ได้ให้ความร่วมมือและสนุกกับการเรียนวันนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากวันนี้เป็นการปฐมนิเทศพูดคุยเพื่อสร้างความคุ้นเคย  วันต่อมาเพื่อเริ่มมาครบและมีการปรับพฤติกรรมไปในทิศทางที่ดีขึ้น
  3. อาจารย์ : ท่านอาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักศึกษา 
  • วิธีการสอนโดยการบรรยาย รวมถึงร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน 
  • สื่อการสอน มีCourse syllabus
  • มีกิจกรรมต่างๆที่น่าสนใจไม่ง่ายไม่ยากจนเกินไป
  • มีการ PES-TEST ก่อนการเรียนเพื่อจะวัดความรู้พื้นฐานของนักศึกษา เพื่อจะได้ปรับเนื้อหาแลละวิธีการสอนให้ตรงตามความต้องการของนักศึกษา